วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงงาน


ข้าวนึ่ง (Parboled rice)
การผลิตข้าวนึ่งต้องทำกาารแช่เมล็ดข้าวเปลือก เพื่อเพิ่มความชื้นในเมล็ดก่อนนึ่ง ซึ่งวิตามินและเกลือแร่บางส่วนละลายน้ำ แล้วแทรกเข้าไปภายในเมล็ดและคงอยู่ในเมล็ดถึงแม้ผิวนอกถูกขัดออกไป ในปัจจุบัน ระบบการทำข้าวนึ่งสามารถลดเวลาลง โดยแช่ข้าวเปลือกในน้าร้อนและนึ่งในระบบเพิ่มความดัน ทำให้ข้าวนึ่งคุณภาพดีขึ้น ไม่มีกลิ่น และควบคุมความเข้มของสีตามความต้องการของตลาดผู้ซื้อ
คนไทยไม่นิยมบริโภคข้าวนึ่ง การผลิตข้าวนึ่ง จึงมุ่งเน้นเฉพาะเพื่อการส่งออก ผู้บริโภคที่นิยม ข้าวกึ่ง คือ อินเดีย ปากีสถาน ตะวันออกกลางและ แอฟริกา ข้าวที่เหมาะสมสำหรับผลิตข้าวนึ่งควรเป็นข้าวเจ้าที่มีปริมาณอมิโลสสูง (มากกว่า25%)วิธีเช่นเดียวกับการบริโภคข้าวขาว คือ นำเมล็ดมาหุงต้ม และบริโภคกับอาหารหรือกับข้าวอื่นๆหรืออาจนำมาทำข้าวปรุงรส
ขั้นตอนการผลิตข้าวนึ่งมีดังนี้
ข้าวเปลือก
ทำความสะอาด
ข้าวเปลือก
แช่น้ำ (ร้อนหรือเย็น)
ข้าวเปลือกความชื้น 30%
นึ่งไอน้ำ
ข้าวเปลือกนึ่ง
ลดความชื้น
ข้าวเปลือกนึ่ง
ความชื้น 14.5%
ขัดสี
ข้าวนึ่ง
ข้าวหุงสุกเร็ว หรือ ข้าวกึ่งสำเร็จรูป (Quick cooking rice or instant rice) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เวลาหุงต้มหรือคืนรูปสั้นๆ ด้วยวิธีที่ไม่ยุ่งยาก เมื่อต้องการบริโภคหลังจากคืนรูปแล้ว ผลิตภัณฑ์ยังคงมีรสชาติ กลิ่น และเนื้อสัมผัส ใกล้เคียงกับข้าวที่หุงปกติ สามารถเก็บไว้ได้นาน ผลิตภัณฑ์ข้าวกึ่งสำเร็จรูปมีหลายรูปแบบ เช่น
- Cup rice คืนรูปโดยเติมน้ำร้อนหรือน้ำเดือดลงในถ้วย แล้วตั้งทิ้งไว้ 1-5 นาที ก็จะได้ผลิตภัณฑ์คืนรูปพร้อมบริโภค
- Standing rice คืนรูป โดยการต้มน้ำให้เดือด ใส่ข้าวกึ่งสำเร็จรูปคนให้เข้ากัน แล้วลดความร้อน ตั้งทิ้งไว้ 5-7 นาที ก็จะนำมาบริโภคได้
- Simmering rice ต้มน้ำและข้าวกึ่งสำเร็จรูปด้วยกัน แล้วจึงลดความร้อน ทิ้งไว้ให้ระอุ 5-10 นาที
- Boil in bag บรรจุข้าวกึ่งสำเร็จรูปในถุงที่มีรูพรุน ต้มในน้ำเดือด นาน 10 นาที จะได้ข้าวพร้อมบริโภค
- Microwave คืนรูปโดยใส่ข้าวและน้ำในชามหรือถ้วย แล้วต้มในเตาไมโครเวฟ นาน 5-10 นาที จะได้ข้าวพร้อมบริโภค
ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้ทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ขาวกึ่งสำเร็จรูป โดยสามารถทำการผลิตได้จากข้าวกล้องและข้าวสาร ที่มีปริมาณอมิโลสต่างๆได้ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ปทุมธานี 1 กข 23 และ เหลืองประทิว 123 เป็นต้น โดยใช้เทคนิคการลดความชื้นด้วยเครื่อง Fluid bed dryer ใช้เวลาคืนรูป โดยแช่น้ำร้อนจัดนาน 4-5 นาที ในกรณีข้าวสาร และ 7-10 นาที ในกรณีข้าวกล้อง มีขบวนการผลิต โดยหุงต้มข้าวให้สุกในน้ำเดือดหรือน้ำสุก จากนั้นล้างข้าวสุกและแช่แข็ง ตามด้วยละลายน้ำแข็ง และลดความชื้นด้วยเครื่อง Fluid bed dryer จะได้ข้าวกึ่งสำเร็จรูป ทำการปรุงรสข้าวกึ่งสำเร็จรูป โดยเติมผลิตภัณฑ์แห้ง คือ เนื้อสัตว์แห้ง เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือ กุ้ง ส่วนผักอบแห้ง ได้แก่ ถั่วฝักยาว แครอท ข้าวโพด และ ต้นหอม สำหรับสารปรุงรสใช้น้ำตาล เกลือ พริกไทย น้ำมันพืช และ กระเทียมเจียว เมื่อทำการคืนรูป โดยเติมน้ำร้อนจัดในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะได้ข้าวปรุงรสพร้อมรับประทาน
ข้าวกล้องและข้าวขาว
ล้างน้ำ
หุงสุก
ล้างน้ำ
แช่แข็ง
ให้น้ำแข็งละลาย
อบแห้ง
ข้างกึ่งสำเร็จรูป

นอกจากนี้ทางศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ได้มีการพัฒนาข้าวกึ่งสำเร็จรูปรสกะเพรา โดยนำข้าวกึ่งสำเร็จรูปมาเติม เนื้อสัตว์แห้ง เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู หรือกุ้ง และผักอบแห้ง ได้แก่ ถั่วฝักยาว แครอท ใบกะเพรา หรือพริกชี้ฟ้า สำหรับสารปรุงรสใช้น้ำตาล เกลือ พริกป่น และกระเทียมเจียว

ข้าวกึ่งสำเร็จรูปรสกะเพรา

ข้าวบรรจุกระป๋อง (Canned rice) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่นเดียวกับอาหารกระป๋องทั่วไป ได้มีการพัฒนาวิธีการผลิตข้าวสวยบรรจุกระป๋อง โดยนำข้าวไปแช่ในสารละลายค่อนข้างเป็นกรด (pH 5.0-5.5) และแช่ข้าวที่สุกบางส่วนใน surfactant ระยะเวลาสั้นๆ เพื่อลดความเหนียวและการเกาะติดกันของข้าวสวย สาร surfactant ที่ใช้อาจเป็นน้ำมัน หรือสารละลายน้ำมัน ทางศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิบรรจุกระป๋อง โดยไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ มีการใช้กระป๋องพร้อมฝาที่เคลือบแลคเกอร์ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.27 นิ้ว สูง 1.80 นิ้ว มีขบวนการผลิต ดังนี้ ทำการชั่งข้าวสารหอมมะลิ 75 กรัม ล้างน้ำ 2 ครั้ง นำข้าวใส่กระป๋อง เติมน้ำในปริมาณ 1.2 เท่า ของน้ำหนักข้าว จากนั้นนำไปนึ่งในลังถึง หรือในไอน้ำเดือดนาน 14 นาที ปิดฝากระป๋องทันที แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิ 120°ซ นาน 12 นาที ดังแผนผังที่แสดง
ข้าวสารหอมมะลิ
ชั่งข้าว 75 กรัม
ล้างน้ำ 2 ครั้ง
เทข้าวใส่กระป๋อง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.27 นิ้ว สูง 1.80 นิ้ว
เติมน้ำอัตราส่วน ข้าว:น้ำ = 1 :1: 2
นึ่งในไอน้ำเดือด นาน 14 นาที
ปิดฝากระป๋องทันที
นึ่งฆ่าเชื้อที่ 120°ซ 12 นาที
ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิบรรจุกระป๋อง

ข้าวบรรจุในภาชนะชนิดอ่อนตัว (Rice in retort pouch) ภาชนะชนิดอ่อนตัว (retort pouch) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่น สามารถปิดผนึกด้วยความร้อน และทนต่ออุณหภูมิสูงถึง 121°ซ. ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารประเภทกรดต่ำ แทนกระป๋องและขวดแก้ว ผลิตภัณฑ์ข้าวสวยใน retort pouch นี้เป็นที่นิยมในตลาดญี่ปุ่น ภาชนะบรรจุที่ใช้ ประกอบด้วย วัสดุ3ชั้น ลามิเนต (laminate) ให้ติดกันของ polyester,aluminum foil และ polypropylene โดยมี polyester ทำหน้าที่ป้องกันการขูดขีด คงทนและอ่อนตัวอยู่ชั้นนอกสุด มีความหนา 0.0005 นิ้ว ชั้นกลางเป็น aluminum foil มีความหนา 0.00035-0.0007 นิ้ว จะช่วยป้องกันแสงและการซึมผ่านของน้ำออกซิเจน สำหรับชั้น polypropyleneที่อยู่ชั้นในสุดมีคุณสมบัติไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร จึงเหมาะสมเป็นส่วนที่สัมผัสกับอาหาร ภาชนะบรรจุนี้สามารถใช้งานกระบวนการผลิตที่อุณหภูมิ 121 °ซ. หรือต่ำกว่าเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ใน retort pouch นี้มีอายุการเก็บ (shelf life) นาน 6 เดือน เมื่อต้องการบริโภคจึงนำถุง retort pouch นี้แช่ในน้ำร้อนนาน 10-15 นาที หรือเทอาหารออกจากบรรจุภัณฑ์ใส่จานอุ่นในเตาไมโครเวฟ 1-2 นาที

ข้าวบรรจุ Retort pouch
ข้าวแช่เยือกแข็ง (Frozen rice)
การแช่เยือกแข็ง เป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ที่ผู้บริโภคต้องการลักษณะอาหารที่เหมือนเดิม พร้อมทั้งคงคุณค่าทางอาหารและรสชาติ สะดวก รวดเร็วในการเตรียม จึงทำให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวแช่เยือกแข็ง โดยมักแช่เยือกแข็งด้วยเครื่องแช่เยือกแข็งแบบลมเป่า (air-blast freezer) หรือเครื่องแช่เยือกแข็งแบบฟลูอิไดซ์เบด (fluidized bed freezer) แล้วเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ไว้ที่อุณหภูมิเยือกแข็งที่ -23.3°ซ สามารถเก็บรักษาได้นานเป็นปี เมื่อนำมาคืนรูปด้วยการอุ่นให้ร้อนอีกครั้ง จะมีสภาพเหมือนข้าวหุงสุกใหม่ สามารถผลิตได้ทั้งข้าวขาว และข้าวกล้อง
ข้าวเสริมโภชนาการหรือข้าวอนามัย (Enriched Rice)
การบริโภคข้าวสารที่ทำการขัดสีจนขาว ซึ่งวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ส่วนใหญ่ถูกขัดออกจนเกือบหมด ดังนั้นจึงมีการผลิตข้าวเสริมวิตามินและเกลือแร่เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไป หรือเพิ่มเติมเพื่อให้มีปริมาณมากขึ้น เช่น มีการเติมวิตามิน thiamin,niacin,การเสริมโภชนาการกระทำได้โดยวิธีการดังนี้
1. การผสมข้าวเสริมโภชนาการกับข้าวขาว (Premix kernel) เป็นการผลิตข้าวเสริมโภชนาการ โดยการผสมข้าวที่ผ่านกระบวนการเสริมโภชนาการกับข้าวธรรมดา กระบวนการ คือ การพ่นสารละลายที่มี thiamin และ niacin,lysine,thrconine กรดอมิโนต่างๆ รวมถึงแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก เป็นต้น ละลายอยู่ในสภาพกรด ลงบนผิวเมล็ดแล้วทำให้แห้งโดยผึ่งลม เมื่อนำบริโภคจึงนำเมล็ดข้าวเสริมโภชนาการผสมกับข้าวขาว ในอัตราส่วน 1:200 และหุงต้ม นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาข้าวเสริมโภชนาการวิธีนี้โดยเติมสารอาหารต่างๆ มาเคลือบเมล็ด
2. ผสมกับผงสารอาหาร (Powdered premix) เป็นการผสมอย่างง่ายๆ โดยผสมผงสารอาหาร 0.5-1.0 ส่วนต่อข้าว 16,000 ส่วน ข้าวเสริมโภชนาการนี้ไม่ควรล้างข้าว เพราะสารอาหารเหล่านี้จะสูญหายไปกับน้ำ
3. การสเปรย์ (Spray system) เป็นการสเปรย์สารอาหารลงบนเมล็ดข้าวที่ผ่านการอบให้ร้อน และใส่ในถังหมุน (rotating drum) เพื่อให้คลุกเคล้าให้ทั่วถึง เพื่อป้องกับปฏิกิริยาเติมออกซิเจนที่ทำลายไวตามินบางชนิด เช่น ไวตามินA และD จึงการเติม butylated hydroxytoluence (BHT) ใน 15-25% sucrose ลงในสารสะลายที่สเปรย์จะช่วยป้องกันการซึมผ่านของออกซิเจนได้
4. การผลิตข้าวในสภาพเป็นกรด (Acid parboiling) เป็นการนำข้าวขาวมาแช่ในสารละลายของวิตามิน thiamine (B1) ในสภาพเป็นกรด แล้วจุงสะเด็ดน้ำ นึ่งและลดความชื้น แต่เมล็ดที่ได้อาจเกิดรอยร้าวขึ้น
5. การเลียนแบบเมล็ดข้าว (Simulateol rice) เป็นการนำแป้งผสมกับไวตามินและแร่ธาตุ แล้วปั้นขึ้นรูปเป็นเม็ดคล้ายเมล็ดข้าว เมื่อจะบริโภคจึงนำมาหุงต้ม โดยผสมกับข้าวขาว
ข้าวกล้องงอก (Germinated brown rice)
ข้าวกล้องงอก เป็นข้าวกล้องที่ผ่านการแช่น้ำทำให้งอก โดยมีส่วนของคัพภะ หรือจมูกข้าวงอกยาวออกมาประมาณ 0.5-1.0 มิลลิเมตร พบการเพิ่มขึ้นของสารชีวกิจกรรม เช่น สารแกมม่าอะมิโนบิวทิริคแอซิค (gamma aminobutynic acid, GABA) สารประกอบฟิโนลิก (phenolic compound) แกมมาออริซานอล (gamma oryzanol) กรดเฟอร์รูลิก (ferrulic acid) ใยอาหาร อินโนซิทอล (inositol) กรดไฟติก (phytic acid) โทโคไตรอีนอล (tocotrienols) แมกซีเนียม โพแทสเซียม และสังกะสี ซึ่งข้าวกล้องที่นำมาทำให้งอกแล้วนั้นมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าในข้าวกล้องปกติ โดยเฉพาะปริมาณ GABA พบว่ามีมากกว่าในข้าวกล้องถึง 10 เท่า และยังผลิตกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ หรือสร้างได้ คือ ไนอะซีน (niacin) และไลซีน (lyzine) เพิ่มขึ้น 4 เท่า ซึ่งกรดอะมิโนนี้ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของร่างกาย รวมทั้งมี dietary fiber เพิ่มขึ้นมากกว่าข้าวกล้องปกติ

คุณประโยชน์ของสารในข้าวกล้องงอก
  • สารกาบา (GABA) เป็นกรดอมิโนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากกระบวนการ decarboxylation ของกรดกลูตามิก GABA มีบทบาทสำคัญในการเป็น neurotransmitter ในระบบประสาทส่วนกลาง มีการใช้กรดนี้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาทหลายโรค เช่น โรควิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคลมชัก ช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น และยังมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตในสมองดีขึ้น และช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มฟิโนลิค (phenolic compounds) ช่วยยับยั้งการเกิดฝ้า ชะลอความแก่
  • สารแกรมม่าออริซานอล (gamma orizanol) ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล ลดอาการผิดปกติของวัยทอง
  • เยื่อใยอาหาร (dietary fiber) ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็งลำไส้ และลดอาการท้องผูก
  • วิตามินอี (vitamin E) ลดการเหี่ยวย่นของผิว
ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว ได้ทำการศึกษาวิจัยกระบวนการทำข้าวกล้องงอก ในข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และปทุมธานี 1 พบว่าการเพาะข้าวกล้องให้งอกที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ในสภาพมืด เป็นเวลา 26 ชั่งโมง ทำให้ปริมาณสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นสูงสุด มี total aminoacid 18-19 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม phenolic compounds 59-65 มิลลิกรัม gamma oryzanol 45.66-56.15 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

พันธ์เมล็ดข้าว


บทที่1พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง







ชื่อพันธุ์กข5 (RD5)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมพวงนาค 16 / ซิกาดิส
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พวงนาค 16 ของไทยกับพันธุ์ซิกาดิส ของอินโดนีเซีย ได้ผสมพันธุ์และคัดพันธุ์แบบสืบตระกูลที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ.2508 จนได้สายพันธุ์ BKN6517-9-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าต้นสูง สูงประมาณ 145 เซนติเมตรเป็นพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงเล็กน้อย เหมาะที่จะปลูกเป็นข้าวนาปี ถ้าปลูกตามฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวได้ปลายเดือนพฤศจิกายน แต่ถ้าปลูกในฤดูนาปรังหรือไม่ปลูกตามฤดูกาล อายุจะอยู่ระหว่าง 140-160 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเดือนที่ลำต้นสีม่วง มีรวงยาว ต้นแข็งไม่ล้มง่ายปลูกระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดท้องไข่น้อย









ชื่อพันธุ์กข6 (RD6)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 20 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนและสถานีทดลองข้าวพิมาย จากการคัดเลือกได้ข้าวเหนียวหลายสายพันธุ์ในข้าวชั่วที่ 2 นำไปปลูกคัดเลือกจนอยู่ตัวได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดคือ สายพันธุ์ KDML105'65-G2U-68-254 นับว่าเป็นข้าวพันธุ์ดีพันธุ์แรกของประเทศไทย ที่ค้นคว้าได้โดยใช้วิธีชักนำพันธุ์พืชให้เปลี่ยนกรรมพันธุ์โดยใช้รังสี
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2520
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 154 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอกระจายเล็กน้อย ใบยาวสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์








ชื่อพันธุ์กข8 (RD8)
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง*2 / ไออาร์ 262
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง กับพันธุ์ไออาร์ 262 ในปี พ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 โดยผสมพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนได้สายพันธุ์ BKN6721 เมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถูกส่งไปให้สถานีทดลองข้าวขอนแก่นทำการปลูกคัดเลือกต่อ และได้เปลี่ยนชื่อคู่ผสมตามรหัสของสถานีเป็นสายพันธุ์ KKN6721 สถานีทดลองข้าวขอนแก่นได้ทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิต จนได้สายพันธุ์ KKN6721-5-7-4
การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 23 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง ฟางแข็ง ชูรวงอยู่เหนือใบ เมล็ดข้าวค่อนข้างป้อม ลำต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์









ชื่อพันธุ์กข13 ( RD13 )
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมนางพญา 132 / ผักเสี้ยน 39
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางพญา 132 กับพันธุ์ผักเสี้ยน 39 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในปี พ.ศ.2507 แล้วนำข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ จังหวัดพัทลุง จนได้สายพันธุ์ BKN6402-352
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นตั้งตรง สีเขียว ใบธงตก ชูรวงอยู่เหนือใบ ระแง้ถี่อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 กุมภาพันธ์เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลท้องไข่ปานกลาง
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์








ชื่อพันธุ์กข15 (RD15)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 105'65G1U-
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 10 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง รวงอยู่เหนือใบ ใบยาว ค่อนข้างแคบเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ปลายบิดงอเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1.7 มิลลิเมตร









ชื่อพันธุ์กข27 (RD27)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวตาอู๋ / ขาวตาแห้ง 17
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ขาวตาอู๋ กับ พันธุ์ขาวตาแห้ง 17 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อปี พ.ศ. 2504 แล้วทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิตจนได้สายพันธุ์ BKN6113-79
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ วันที่ 10 ธันวาคมมีลำต้นและใบสีเขียว ทรงกอค่อนข้างตั้ง ต้นใหญ่ และใบยาวเมล็ดค่อนข้างป้อม ข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์ท้องไขน้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา= 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์กำผาย 15 (Gam Pai 15)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือกได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ุ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์เก้ารวง 88 (Gow Ruang 88)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 21 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 22-26%คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม







ชื่อพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)
ชนิดข้าวเจ้าหอม
ประวัติพันธุ์ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1..8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 12-17%คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม








ชื่อพันธุ์ขาวตาแห้ง 17 (Khao Tah Haeng 17)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชนะการประกวดเมื่อ พ.ศ.2499 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ ทั่วประเทศ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เมื่อ พ.ศ.2499 แต่เนื่องจากไม่ต้านทานโรคไหม้ จึงได้ยกเลิกไปเมื่อ พ.ศ.2506 และได้นำกลับมาขยายพันธุ์ใหม่ ในปี พ.ศ.2508 เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี โรงสีรับซื้อและให้ราคาดี จึงเป็นที่นิยมปลูกของชาวนามาโดยตลอด
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2499 และ พ.ศ.2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว กอแผ่กระจาย แตกกอดี เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีเหลืองจางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตร







ชื่อพันธุ์ ขาวปากหม้อ 148 (Khao Pahk Maw 148)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายทอง ฝอยหิรัญ พนักงานเกษตร จากอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2495-2496 จำนวน 196 รวง แล้วนำมาคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ขาวปากหม้อ 55-3-148
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว แตกกอดี ทรงกอตั้งตรง ใบกว้างและยาว เมล็ดมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 3 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.9 มิลลิเมตร







ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao' Jow Hawm Phitsanulok 1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / LA29'73NF1U-14-3-1-1// IR58
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29'73NF1U-14-3-1-1 กับIR58 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 25
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนลำต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร







ชื่อพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง (Chiang Phatthalung)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง มีชื่อเดิมหลายชื่อได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล บางแก้ว นายเฉี้ยง ทองเรือง เกษตรกรอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้นำข้าวพันธุ์นี้จากอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดู และเป็นที่นิยมปลูกแพร่หลายในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมข้าวพันธุ์ดังกล่าวจากแปลงนาเกษตรกรในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และทำการคัดเลือกแบบหมู่จนได้สายพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนมกราคมใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.7 x 1.6 มิลลิเมตรมีท้องไข่ปานกลาง






ชื่อพันธุ์ชุมแพ 60 (Chum Phae 60)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมกำผาย 41/ เหลืองทอง 78
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง พันธุ์กำผาย 41 และพันธุ์เหลืองทอง 78 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ในปี 2504 ปลูกศึกษาพันธุ์ เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีและระหว่าง สถานีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ SPT6118-34
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160-180 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 27 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว กอตั้งตรง แตกกอดี ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบแคบยาว ใบธงตก รวงและคอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวร่วงยาก มีท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง สาแหรกสีน้ำตาล และมีขนสั้นระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27.35 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง









ชื่อพันธุ์นางพญา 132 (Nahng Pa-yah 132
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2493 แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ นางพญา 37-30-132
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 175 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอดี คอรวงยาว เมล็ดข้าวมีรูปร่างเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 16 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-32%คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง









ชื่อพันธุ์นางมล เอส-4 (Nahng Mon S-4)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้มาจากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เมื่อ พ.ศ. 2493 นำมาปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ที่ดีที่สุด
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ พ.ศ. 2499,2504,2508
ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า ต้นสูงประมาณ 140 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นสีเขียว ใบกว้าง รวงใหญ่และยาว เมล็ดรูปร่างยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 26 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม









ชื่อพันธุ์น้ำสะกุย 19 (Nam Sa-gui 19)
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยนายสมพงษ์ บุญเย็น พนักงานเกษตร เมื่อปี พ.ศ.2507 จำนวน 300 รวง จากอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ น้ำสะกุย 445-4-19
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2511
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 143 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบสีม่วง แตกกอดี ทรงกอแผ่เล็กน้อย เมล็ดข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางก้นจุดอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์เผือกน้ำ 43 (Peuak Nam 43)
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แล้วนำไปปลูกคัดเลือก แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เผือกน้ำ 184-5-43
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 166 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว แตกกอมาก รวงใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดข้าวเรียวยาวข้าวเปลือกสีฟางท้องไข่ปานกลางอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 22 กุมภาพันธ์ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 24-27%








ชื่อพันธุ์ปทุมธานี 60 (Pathum Thani 60
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมดอกมะลิ 70*2 / ไชนีส 345
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ดอกมะลิ 70 กับสายพันธุ์ไชนีส 345 เมื่อ ปี พ.ศ.2501 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง และนำไปปลูกคัดเลือกในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ SPT5837-400
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 159 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนลำต้นและใบสีเขียว มีขนบนใบ รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว เมล็ดเรียวยาวท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 27-32 %คุณภาพข้าวสุก ค่อนข้างร่วน มีกลิ่นหอม







ชื่อพันธุ์พวงไร่ 2 (Puang Rai 2 )
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมือง โดยนายประวิทย์ สายทอง และ นายชัยทัศน์ นิจจสาร พนักงานเกษตร จากอำเภอเมือง จังหวัดเพชราบุรี จำนวน 85 รวง นำไปคัดเลือกแบบคันพันธุ์บริสุทธิ์ ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ พวงไร่ 20-55-2

การรับรองพันธ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ 13 มิถุนายน 2511
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ต้นสูง กอแผ่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 6 กุมภาพันธ์ท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้างx ยาว x หนา = 2.3 x 7.5 x 1.9 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 28-30 %








ชื่อพันธุ์พัทลุง 60 (Phatthalung 60
ชนิดข้าวเจ้า
ชื่อคู่ผสมกข13 / กข7
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข13 และพันธุ์ กข7 ที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ (ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง) ในปี พ.ศ. 2520 ปลูกคัดเลือกจนถึงชั่วที่ 5 ที่สถานีทดลองข้าว นครศรีธรรมราช จนได้สายพันธุ์ KGTLR77003-3-NSR-1-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 156 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 6 -13 มกราคมต้นค่อนข้างแข็ง ล้มยาก มีรวงแน่น ระแง้ถี่ เมล็ดมาก รวงยาวและใหญ่ คอรวงยาว เมล็ดค่อนข้างป้อม ท้องไข่ปานกลางข้าวเปลือกสีฟาง อาจมีกระน้ำตาล








ชื่อพันธุ์พิษณุโลก 3 (Phitsanulok 3)
ชนิดข้าวเจ้า

คู่ผสมกข27 / LA29’73-NF1U-14-13-1-1

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ กข27 และสายพันธุ์ LA29’73-NF1U-14-13-1-1 ในปี พ.ศ. 2525 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR82129-PSL-148-3-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2545
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 167 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 1-10 ธันวาคมกอตั้ง ใบสีเขียว รวงแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 9 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 23.6 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม








ชื่อพันธุ์พิษณุโลก 60-1 (Phitsanulok 60-1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมล เอส-4 / / ไออาร์26

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์นางมล เอส -4 กับพันธุ์ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2516-2517 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR7419-179-4-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2530
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140-160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายน -15 ธันวาคมลำต้นแข็งสีเขียวอ่อน ใบสีเขียวแคบ ยาวปานกลาง ใบธงสั้น รวงยาว ระแง้ถี่ เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟาง ท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7-8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว xหนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17 %







ชื่อพันธุ์ลูกแดงปัตตานี ( Look Daeng Pattani
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง จากบริเวณชายฝั่งซึ่งน้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจากตำบลกำช่า ตำบลบางเขา และตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2528 นำไปปลูกทดสอบในเรือนทดลอง พร้อมทั้งปลูกศึกษาและ คัดเลือกพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวปัตตานี
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์ แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ มกราคม - กุมภาพันธ์ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน และตั้งตรง ใบธงแผ่เป็นแนวนอน รวงยาว ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลแดงเข้มระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.5 x 7.5 x 1.8 มิลลิเมตรท้องไข่ค่อนข้างมากปริมาณอมิโลส 25 %









ชื่อพันธุ์เล็บนกปัตตานี ( Leb Nok Pattani )
ชนิดข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมข้าวพันธุ์พื้นเมือง ที่นิยมปลูกทางภาคใต้ โดยนักวิชาการ จากสถานีทดลองข้าวปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2527 จำนวน 307 พันธุ์ จาก 107 อำเภอ 14 จังหวัด ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบหมู่และคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เล็บนก (PTNC84210)
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 170 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกุมภาพันธ์ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวแน่น ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ก้นจุดระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 6.0 x 1.7 มิลลิเมตรท้องไข่ปานกลางปริมาณอมิโลส 26 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม








ชื่อพันธุ์หางยี 71 ( Hahng Yi 71 )
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์ โดยพนักงานข้าว จากอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2506 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ หางยี 563-2-71

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2511
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 152 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีลำต้นสีเขียว ใบแคบ และยาว สีเขียวเข้ม รวงอ่อนมีระแง้แผ่ออกคล้ายตีนนกเมล็ดข้าวยาวเรียวข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 4 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม








ชื่อพันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม ( Muey Nawng 62 M )
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยเจ้าหน้าที่ของสถานีกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี พ.ศ. 2494 และนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำมาปลูกคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ ในภาคเหนือ จนได้พันธุ์เหมยนอง 62 เอ็ม
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2502
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและขอบใบสีม่วง แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว กอค่อนข้างแผ่ เมล็ดสั้นป้อมข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาล ก้นจุดอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 20 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.9 x 6.6 x 2.0 มิลลิเมตร








ชื่อพันธุ์เหนียวสันป่าตอง (Niaw San-pah-tawng )
ชนิดข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ได้จากการคัดเลือกข้าวเจ้าสายพันธุ์เหลืองใหญ่ 10-137-1 ซึ่งกลายพันธุ์เป็นข้าวเหนียว โดยนายมณี เชื้อวิโรจน์ เจ้าหน้าที่วิชาการ สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง นำไปปลูกคัดพันธุ์ใหม่ จนได้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง 137-1-16
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงทรงกอแฝเล็กน้อย ต้นค่อนข้างแข็ง รวงยาว เมล็ดยาวเรียวเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.2 x 1.3 มิลลิเมตรข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 26 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม








ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 1 ( Niaw Ubon 1 )
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง* 2 / ไออาร์262

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง และพันธุ์ ไออาร์262 ในปีพ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียว สันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ทำการคัดเลือกต่อที่สถานีทดลองข้าวอุบลราชธานี จนได้สายพันธุ์ UBN6721-11-1- 6(3)
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526
ลักษณะประจำพันธุ์
เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 145 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนทรงกอตั้งตรง แตกกอดี ต้นและใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้ง เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 7 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง ยาว 7.52 มิลลิเมตร กว้าง x ยาว x หนา = 2014 x 7.52 x1.78 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม








ชื่อพันธุ์เหนียวอุบล 2 ( Niaw Ubon 2 )
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสม SPT7149-429-3 / IR21848-65-3-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ SPT7149-429-3 และIR21848-65-3-2 ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2525 ปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีจนได้ สายพันธุ์ IR43070-UBN-501-2-1-1-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2541
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 118 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 15 พฤศจิกายนทรงกอแผ่ ต้นแข็ง ใบสีเขียวเข้ม กาบใบสี เขียว ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงสั้นเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตร







ชื่อพันธุ์เหลืองประทิว 123 ( Leuang Pratew 123 )


ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนังงานเกษตร จากเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2498-2499 ปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เหลืองประทิว 126-8-123

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ.2508
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ใบกว้างและยาว คอรวงยาวข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียวอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 19 ธันวาคมระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง






ชื่อพันธุ์เหลืองใหญ่ 148 ( Leuang Yai 148
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์เหลืองใหญ่จากเกษตรกรในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ่โดยนายพรม ยานะ พนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2499-2501 คัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง จนได้สายพันธุ์ เหลืองใหญ่ 228-2-148

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2511

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นพันธุ์ข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว ลำต้นเล็ก ใบธงค่อนข้างตั้งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง








ชื่อพันธุ์เข็มทองพัทลุง (Khem Tawng Phatthalung

ชนิด ข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง จากตำบลท่ามิหรำ อำเมือง จังหวัดพัทลุง แล้วนำไปปลูกคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์เข็มทอง PTLC97001-4-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 173 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 14 กุมภาพันธ์ต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ไม่ล้ม รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ระยะพักตัวประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.19 x 9.94 x 1.57 เซนติเมตรปริมาณอมิโลส 24.1%เมล็ดข้าวสาร สีขาวใสประมาณ 548 กิโลกรัมต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคขอบใบแห้งปานกลางต่อไร่ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม








ชื่อพันธุ์ข้าวหลวงสันป่าตอง (Khao' Luang San-pah-tawng
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ ได้จากการรวบรวมพันธุ์พื้นเมืองของเกษตรกรบ้านปางม่วง ต. แจ้ซ้อน อ. เมืองปาน จ. ลำปาง ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้างสันป่าตอง และทดสอบพันธุ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่รอยต่อ อ. เมือง อ.เมืองปาน และ อ. แจ้ห่ม จ. ลำปาง ในปี 2541 – 2546
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 15-17 พฤศจิกายนกอตั้ง แตกกอมาก ลำต้นตรง แข็ง ไม่ล้มง่าย รวงยาว ระแง้ถี่ คอรวงยาวเมล็ดสีฟางกระน้ำตาลเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.93 x 7.11 x 2.07 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 14.26 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม เหนียว







ชื่อพันธุ์แก่นจันทร์ (Gaen Jan)
ชนิดข้าวเจ้า
ประวัติพันธุ์ได้จากการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองจากเกษตรกรในอำเภอกระบุรี จังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ.2509 ทำการปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ จนได้สายพันธุ์ แก่นจันทร์707-2-23
การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนา กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 165 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ลักษณะทรงกอแบะ ต้นแข็ง ใบสีเขียว ใบธงเอน รวงยาวมาก ระแง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัว ประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.16 x 7.06 x 1.58 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 30-31%





บทที่ 2 พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง






ชื่อพันธุ์กข1 (RD1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมเหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองเหลืองทองนาปรัง กับไออาร์8 ผสมพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวบางเขนในฤดูนาปรังปี พ.ศ.2509 โดยนายวรวิทย์ พาณิชพัฒน์ แล้วทำการคัดเลือกแบบสืบตระกูลจนได้สายพันธุ์ BKN6617-56-1-2 ซึ่งเป็นข้าวเจ้าพันธุ์ผสมพันธุ์แรกที่ปลูกได้ตลอดปี
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันลำต้นและใบสีเขียวอ่อน ใบธงตั้งตรง เมล็ดเรียวยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์ท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.1 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-30%คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง






ชื่อพันธุ์ กข2 (RD2)
ชนิดข้าวเหนียว
คู่ผสมกำผาย15 * 2 / ไทชุง เนทีฟ 1
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างข้าวเหนียวพันธุ์กำผาย 15 กับข้าวพันธุ์ไทชุง เนทีฟ 1 จากไต้หวัน และผสมกลับไปหาพันธุ์กำผาย 15 หนึ่งครั้งโดยผสมพันธุ์ที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ประเทศฟิลิปปินส์ แล้วนำพันธ์ผสมขั่วที่ 3 เข้ามาทำการคัดเลือกในประเทศไทย จนได้สายพันธุ์ IR253-4-1-2-1 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์ผสมพันธุ์แรกที่ปลูกได้ตลอดปี

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงใบสีเขียว กาบใบสีเขียวอ่อนเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอ่อนอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.6 x 7.2 x 1.9 มิลลิเมตร






ชื่อพันธุ์กข3 (RD3)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมเหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8
ประวัติพันธุ์ ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พื้นเมืองเหลืองทองนาปรังกับไออาร์8 ซึ่งเป็นพ่อแม่ เดียวกับ กข1 แต่ กข3 แตกต่างจาก กข1 ที่มีใบธงยาวกว่ามาก และเปลือกเมล็ดสีน้ำตาล โดยผสมพันธุ์ข้าวที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในฤดูนาปรัง ปี พ.ศ.2509 ทำการคัดเลือกแบบสืบตระกูล จนได้พันธุ์ผสมขั่วที่ 5 ได้สายพันธุ์ BKN6617-12-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2512
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงลำต้นและใบสีเขียว เมล็ดเรียวยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 128 วันระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตรท้องไข่น้อยปริมาณอมิโลส 29-31%คุณภาพข้าวสุกร่วน แข็ง






ชื่อพันธุ์กข4 (RD4)
ชนิด ข้าวเหนียว
คู่ผสมเหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8//ดับเบิ้ลยู1252 /// กข2

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์พี่น้องของ กข1 (เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์8 สายพันธุ์ 17-1) กับพันธุ์ ดับเบิ้ลยู1252 (หรือ อีเค1252) จากอินเดีย ซึ่งต้านทานแมลงบั่ว แล้วนำลูกผสมชั่วแรกผสมกับพันธุ์ กข2 เพื่อให้ได้ลักษณะข้าวเหนียว และคัดเลือกตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ BKN6805-22-13
การรองรับพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2516
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงลำต้น กาบใบ และขอบใบสีม่วง เมล็ดยาวเรียวข้าวเปลือกสีน้ำตาลเข้มอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 127 วันระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.4 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก แข็ง







ชื่อพันธุ์ กข7 (RD7)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมซี4-63 // เก้ารวง 88 / ซิกาดีส
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างพันธุ์เก้ารวง 88 ของประเทศไทย และพันธุ์ชิกาดิส จากประเทศอินโดนีเชีย กับพันธุ์ซี4-63 จากประเทศฟิลิปปินส์ โดยผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี คัดเลือกและทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองข้าวหลายแห่ง จนได้สายพันธุ์ SPR6726-134-2-26
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 125 วันเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางท้องไข่น้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.3 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 24-28 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม








ชื่อพันธุ์ กข9 (RD9)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมชัยนาท3176 / ดับเบิ้ลยู1256 // กข2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ ชัยนาท3176 (เหลืองใหญ่34 *2 / ไทชุง เนทีฟ 1) กับพันธุ์ดับเบิ้ลยู1256 (หรือ อีเค1256)จากประเทศอินเดีย และพันธุ์ กข2 ของไทย เริ่มผสมพันธุ์เมื่อปี พ.ศ.2511 ในระยะแรกได้นำไปทดลอบผลผลิตในภาค เหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในสถานีทดลองข้าวต่างๆ เพื่อทดสอบความต้านทาน ต่อแมลงบั่ว และเมื่อมีปัญหาการระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยจักจั่นสีเขียวในภาคกลาง จึงได้นำข้าวสายพันธุ์นี้มาทดสอบผลผลิตในสถานีทดลองข้าวภาคกลาง จนได้สายพันธุ์ BKN6809-74-4

การรองรับพันธุ์คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518
ลักษณะพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 105 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงทรงกอตั้งตรง สีเขียวเข้ม ฟางแข็งไม่ล้มง่ายเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 115-125 วันท้องไข่น้อยระยะฟักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้างxยาวxหนา = 2.3 x 7.2 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-31 %







ชื่อพันธุ์กข10 (RD10)
ชนิดข้าวเหนียว
ประวัติพันธุ์ ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีนิวตรอนเร็ว ปริมาณ 1 กิโลแรด อาบเมล็ดข้าวพันธุ์ กข1 เมื่อปี พ.ศ.2512 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน จนได้สายพันธุ์ RD1'69-NF1U-G6-6 หลังจากนั้นได้นำไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตที่สถานีทดลองข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วันทรงกอตั้งตรง ลำต้นสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างกว้าง รวงอยู่ใต้ใบธงระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรคุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม










ชื่อพันธุ์ กข11 (RD11
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมไออาร์661 / ขาวดอกมะลิ 105
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ไออาร์661 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อปี พ.ศ.2512 ที่สถานีทดลองข้าวหันตรา แล้วนำมาคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขน คัดจนได้พันธุ์ผสมเบอร์ ดับเบิ้ลยูพี153
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2520
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงทรงกอตั้งตรงสีเขียวเข้ม ฟางแข็ง ใบธงยาวปานกลาง แตกกอมากเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 135 วันท้องไข่ปานกลางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.37 x 7.6 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 29-32 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง







ชื่อพันธุ์กข21 (RD21)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมขาวดอกมะลิ 105 / นางมลเอส-4 // ไออาร์26
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างขาวดอกมะลิ 105 และ นางมล เอส -4 กับ ไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ.2517ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี จนได้สายพันธุ์ SPR7419-86-2-5 ซึ่งเป็น พันธุ์แรกที่ต้านทานโรคใบหงิกและให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 252
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100-125 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120-130 วันลำต้นใหญ่ แต่ค่อนข้างอ่อน รวงแน่น อยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางกระน้ำตาลระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่น้อยเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 17-20 %คุณภาพข้าวสุก นุ่ม







ชื่อพันธุ์กข23 (RD23)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมกข7 / ไออาร์32 // กข1
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่าง กข7 และ ไออาร์32 กับ กข1 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2521 แล้วปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPRLR76002-168-1-4

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 115-120 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 125 วันลำต้นและใบมีสีเขียวอ่อน ใบธงตั้ง และค่อนข้างยาว รวงอยู่ใต้ใบ แตกกอดีข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5 สัปดาห์ท้องไข่น้อยปริมาณอมิโลส 25-30 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่มเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.8 มิลลิเมตร







ชื่อพันธุ์
กข25 (RD25)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์2061-213-2-3-3 // ขาวดอกมะลิ 105 / ไออาร์ 26

ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมซ้อนระหว่างคู่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ไออาร์2061-213-2-3-3 กับคุ่ผสมของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กับไออาร์26 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน เมื่อ พ.ศ.2518 ปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท และสถานีทดลองข้าวรังสิต จนได้สายพันธุ์ BKNLR75091-CNT-B-RST-40-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตรให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2524
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 100 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 90 - 100 วันลำต้นตั้งตรง ฟางค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวอ่อน รวงอยู่ใต้ใบข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 4 สัปดาห์ท้องไข่ปานกลางเมล็ดข้างกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 25 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม







ชื่อพันธุ์ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 (Khao’ Jow Hawm Khlong Luang 1)

ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมนางมล เอส-4 / ไออาร์841-85-1-1-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางมล เอส-4 กับสายพันธุ์ไออาร์841-85-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ KLG83055-1-1-1-2-1-4
การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 110 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน เมื่อปลูกในฤดูนาปรัง และ 125 วัน ในฤดูนาปีทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงยาวปานกลาง และ ค่อนข้างตั้ง คอรวงสั้น รวงยาวแน่น และระแ้ง้ถี่เมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.3 x 7.8 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม







ชื่อพันธุ์ ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี (Khao' Jow Hawm Suphan Buri
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม SPR84177-8-2-2-2-1 / SPR85091-13-1-1-4 // ขาวดอกมะลิ 105
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทางระหว่างlสายพันธุ์ SPR84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4 กับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2532 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPR89111-17-2-2-2-2
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 126 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วันทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาวและคอรวงยาวเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 18-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียวและหอม







ชื่อพันธุ์ชัยนาท 1 (Chai Nat 1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม IR13146-158-1 / IR15314-43-2-3-3 // BKN6995-16-1-1-2
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างสายพันธุ์ IR13146-158-1 และสายพันธุ์ IR15314-43-2-3-3 กับ BKN6995-16-1-1-2 ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ. 2525 ปลุกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ CNTBR82075-43-2-1
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่9 กันยายน 2536

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 113 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 121-130 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาวตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีฟางระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 8 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.7 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาอุณหภูมิโลส 26-27 %คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง







ชื่อพันธุ์ชัยนาท 2 (Chai Nat 2)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสมหอมพม่า (GS.No.3780 ) / IR11418-19-2-3
ประวัติพันธุ์ได้จาการผสมพันธุ์แบบผสมเดี่ยวระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์หอมพม่า (GS.No. 3780) ซึ่งเป็นข้าวหอมพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี กับสายพันธุ์ IR11418-19-2-3 จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ที่สถานีทดลองข้าวชัยนาท ใน พ.ศ.2530 ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบสืบตระกูล จนได้สายพันธุ์ CNT87040-281-1-4
การรับรองพันธุ์คณะกรรมการบริหาร กรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2547
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 83 - 95 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 103 – 105 วันทรงกอแบะ ใบสีเขียวเข้ม ใบธงเป็นแนวนอน รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่ คอรวงยาว ต้นแข็ง ไม่ล้ม ใบค่อนข้างแก่เร็วเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง





ชื่อพันธุ์ ปทุมธานี 1 (Pathum Thani 1)
ชนิดข้าวเจ้า
คู่ผสม BKNA6-18-3-2 / PTT85061-86-3-2-1
ประวัติพันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี พ.ศ. 2533 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ PTT90071-93-8-1-1

การรับรองพันธุ์คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543
ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 104-133 เซนติเมตรไม่ไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 104-126 วันทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขน กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ทำมุม 45o กับคอรวง รวงอยู่ใต้ใบธงเมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน มีหางเล็กน้อยระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.6 x 1.7 มิลลิเมตรปริมาณอมิโลส 15-19 %คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน