วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การทำเเปลงขยายพันธุ์ข้าว


                                                     
การทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว
1. การคัดเลือกพื้นที่ทำแปลงขยายพันธุ์ข้าว
- พื้นที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ติดต่อกันหรืออยู่ใกล้เคียงกัน สะดวกในการดูแล และติดตามงาน
- ติดถนน การคมนาคมสะดวก
- มีแหล่งน้ำใช้พอเพียงตลอดฤดูการผลิต
- ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ไม่อยู่ใกล้คอกสัตว์ และบ่อเลี้ยงปลา
- ไม่เป็นดินกรดจัด หรือด่างจัด
- อยู่ใกล้แหล่งรับซื้อและโรงงานปรับปรุงสภาพ

2. การคัดเลือกเกษตรกร

- มีความสนใจ ตั้งใจจริงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์
- ขยัน หมั่นตรวจถอนพันธุ์ปนสม่ำเสมอ
- ซื่อสัตย์ รักษาคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ ไม่ปลอมปน หรือลักจำหน่ายเมล็ดพันธุ์
- มีการรวมกลุ่มช่วยกันถอนพันธุ์ปน
- มีพื้นที่ไม่มากเกินไป จะได้มีเวลาตรวจถอนพันธุ์ปน

3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะผลิต

- เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและระดับน้ำ
- เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสนใจและนิยมปลูก
- ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่
- หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศในบางฤดู
- เป็นพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ

4. การวางแผนการปลูกข้าว

- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวต่างจากพันธุ์เดิม เพื่อลดปัญหาข้าวปนจากข้าวเรื้อ
- กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ใหม่
- ห้ามปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออากาศ หนาวเย็นในช่วงกันยายน-พฤศจิกายน
- หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนที่ระยะเก็บเกี่ยวตรงกับช่วงฝนตกชุก

5. การเตรียมดิน

- กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ข้าว หรือ เริ่มทำแปลงขยายพันธุ์ครั้งแรก โดย ตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วใช้โรตารี่ย่ำกลบตอซัง จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ จนข้าวเรื้องอก จึงใช้ขลุบย่ำ กลบข้าวเรื้อ หมักไว้1-2 สัปดาห์ ก่อนคราด ทำเทือก ปลูก
- ปรับพื้นนาให้เรียบสม่ำเสมอ ทำร่อง ระบายน้ำทุก 4 เมตร

6. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
- สุ่มเมล็ดพันธุ์เพื่อตรวจสอบ ข้าวปน และความงอกก่อนปลูก
- ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปลูกแบบหว่านน้ำตม และ 5 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปลูกแบบปักดำด้วยคน และ 10 กิโลกรัมต่อไร่ สำหรับปักดำด้วยเครื่องปักดำ

7. วิธีการปลูกข้าว
7.1 หว่านน้ำตม เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานที่ขาดแคลนแรงงาน ทำนาหลายครั้งต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์ โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่ในน้ำสะอาด นาน 1 - 2 ชั่วโมง นำขึ้นหุ้มอีก 36 - 48 ชั่วโมง จนเมล็ดงอกเป็นตุ่มตา ค่อยนำไปหว่านในนาด้วยมือหรือเครื่องหว่านเมล็ด
7.2 ปักดำ เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำฝน หรือมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันปัญหาข้าวเรื้อ และกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัด แต่ต้องการขยายปริมาณมาก
7.2.1 การตกกล้าในนาและปักดำด้วยคน ต้องกำจัดข้าวเรื้อในแปลงที่จะใช้ตกกล้า นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่และหุ้มเช่นเดียวกับวิธีหว่านน้ำตม จนเมล็ดงอกเป็นตุ่มตาจึงนำเมล็ดไปหว่านในนา รอจนกล้าอายุ 20- 30 วัน ค่อยถอนกล้าแล้วนำไปปักดำในนา ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 10 เซนติเมตร
7.2.2 การตกกล้าและปักดำด้วยรถดำนา ต้องร่อนทำความสะอาดวัสดุเพาะกล้าก่อนนำมาใช้ เพื่อป้องกันเมล็ดข้าวที่ติดมากับวัสดุเพาะ(ขี้เถ้าแกลบ) นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่และหุ้มเช่นเดียวกับวิธีหว่านน้ำตม แต่ลดระยะเวลาหุ้มลงเหลือ 24 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดข้าวงอกไปโรยในกะบะอัตรา 200-250 กรัม(ข้าวแห้ง)ต่อถาด แล้วหุ้มเมล็ดต่ออีก 24 ชั่วโมง ค่อยนำกะบะไปเรียงในนาหรือลานเพาะกล้า คลุมกะบะด้วยซาแรนต่ออีก 3 วันจึงเปิดซาแรนออก พอกล้าอายุได้ 15 – 22 วัน ค่อยนำกล้าออกจากถาดไปปักดำในนาที่ระบายน้ำออกหมด

8. การควบคุมหอยเชอรี่
- ปล่อยเป็ดกินช่วงเตรียมแปลง และใช้ตาข่ายดักจับขณะสูบน้ำเข้านา
- ใช้สารกำจัดหอยเชอรี่ขณะหมักเทือกก่อนหว่านข้าว 1-2 วัน
* นิโคซามาย 50 กรัมต่อไร่
* เมทัลดีไฮด์ 150 กรัมต่อไร่
* สมุนไพรกำจัดหอยเชอรี่ 3 กิโลกรัมต่อไร่
- ระดับน้ำในนาขณะใช้สารไม่เกิน 5 เซนติเมตร

9. การควบคุมวัชพืช
- ใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชให้ถูกต้อง
* ถูกกับชนิดของวัชพืช (ใบแคบ ใบกว้าง กก )
* ถูกกับเวลาที่ใช้แล้วได้ผลดี (โดยนับจาก วันหว่านข้าว)
* ถูกอัตราที่สารนั้นกำหนด
- เปิดน้ำเข้านาหลังพ่นสารเคมี 3 วัน
- รักษาระดับน้ำ 5 - 10 เซนติเมตร หลังกำจัดวัชพืช เพื่อป้องกันวัชพืชงอกอีกครั้ง

10. การจัดการน้ำในนาข้าว

- รักษาระดับน้ำให้เหมาะสมกับอายุข้าว
* ระยะกล้า 5 เซนติเมตร.
* ระยะแตกกอ 5 - 10 เซนติเมตร
* ระยะตั้งท้อง-ออกดอก 10 เซนติเมตร
- ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยว
* นาดินเหนียว 10 - 14 วัน
* นาดินทราย 7 วัน
11. การใส่ปุ๋ยในนาข้าว
- กำจัดวัชพืชก่อนใส่ปุ๋ย
- ระดับน้ำขณะใส่ปุ๋ย 5 - 10 เซนติเมตร.
- ใส่ปุ๋ยให้เหมาะกับชนิดของดิน ชนิดและระยะการเจริญเติบโตข้าว
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง(ต้นเตี้ย)
1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 25 - 35 กิโลกรัม/ไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 - 15 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่
2. ดินร่วน และดินทราย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 25 - 35 กิโลกรัม/ไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 10 - 15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20 - 30 กิโลกรัมต่อไร่่
ข้าวไวต่อช่วงแสง(ต้นสูง)
1. ดินเหนียว แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-20-0 หรือ 18-22-0 หรือ 20-20-0 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 - 10 กิโลกรัมต่อไร่่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10 - 20 กิโลกรัมต่อไร่
2. ดินร่วน และดินทราย แบ่งใส่ 2 ครั้ง
- ครั้งแรก ปุ๋ยสูตร16-16-8 หรือ 15-15-15 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งสอง ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 5 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ แอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 10 - 20 กิโลกรัมต่อไร่
12. การกำจัดข้าวปน
- ระยะแตกกอ
- ระยะออกดอก
- ระยะโน้มรวง
- ระยะพลับพลึง

13. การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

- โรคข้าว
- แมลงศัตรูข้าว
- สัตว์ศัตรูข้าว



14. การเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าว

- ระบายน้ำก่อนเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 - 10 วัน
- เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ระยะสุกแก่พอดี ประมาณ 30 วันหลังข้าวออกดอก 80 %
- ทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
- เกี่ยวข้าวขอบแปลงแยกออกเพื่อทำความสะอาดรถเกี่ยวนวดอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์
- ทำความสะอาดภาชนะบรรจุ และรถบรรทุกก่อนเก็บเกี่ยว และชักลากเมล็ดพันธุ์ส
        

เมล็ดข้าว

เมล็ดข้าว
เมล็ดของข้าวหมายถึงส่วนรวมที่เป็นแป้งที่เรียกว่า endosperm และส่วนที่ เป็น embryo ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกที่ เรียกว่า lemma และ palea แป้ง endosperm เป็นแป้งที่เราบริโภค embryo เป็นส่วนที่มีชีวิต และงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ การที่ละอองเกสรตัวผู้ตกลงบนที่รับละอองเกสรของเกสรตัวเมียนั้น เรียกว่า การผสมเกสร (pollination) หลังจากการผสมเกสรเล็กน้อย ละอองเกสรตัวผู้ก็จะงอกลงไปในก้านของเกสรตัวเมีย เพื่อนำนิวเคลียสจากละอองเกสรตัวผู้ลง ไปผสมเพื่อรวมตัวกับไข่และนิวเคลียสอื่น ๆ ในรังไข่นิวเคลียสที่ได้รวมตัวกับไข่ก็จะเจริญเติบโตเป็น embryo ส่วนนิวเคลียสที่ได้รวมตัวกับนิวเคลียสอื่น ๆ (polarnuclei) ก็จะเจริญเติบโตเป็นแป้ง ที่เรียกว่า endoperm หลังจากการผสมเกสรประมาณ ๓๐ วัน เมล็ดข้าวก็จะแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ เมื่อได้แกะเปลือกที่เป็น lemma และ palea ของเมล็ดข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวมาก็จะได้เมล็ดข้าวที่เรียกว่า ข้าวกล้อง หรือ brown rice เมล็ดข้าวกล้องมักจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ และเมื่อได้ผ่าตัดเมล็ดข้าวกล้องออกตามความยาว และศึกษาลักษณะของมันอย่างละเอียด ก็พบว่าเมล็ดข้าวกล้องประกอบด้วย เยื่อชั้นนอกบาง ๆ เรียกว่า pericarp layers จำนวน ๒ ชั้น เยื่อชั้นกลางหนึ่งชั้นเรียกว่า tegmen และเยื่อชั้นในบาง ๆ อีกหนึ่งชั้นเรียกว่า aleurone layer ถ้า pericarplayers เป็นสีแดง เมล็ดข้าวกล้องก็จะเป็นสีแดงส่วนภายในที่เป็น endosperm จะมีลักษณะเป็นแป้งสีขาวหรือใส เป็นจำนวนน้อยมากที่มี endosperm เป็นสีแดงข้าวเหนียวจะมี endosperm เป็นสีขาวขุ่น ส่วนข้าวเจ้ามี endosperm ใสกว่า อย่างไรก็ตาม endosperm ของเมล็ดข้าวเจ้าอาจมีสีขาวขุ่นเกิดขึ้นที่ด้านข้างหรือตรงกลางของเมล็ดก็ได้ ซึ่งเรียกว่า ท้องไข่ หรือท้องปลาซิว (chalkiness)
00

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติผู้จัดทำ

                                         ประวัติผู้จัดทำ

หัทยา เจยาคม      1.นางสาว หัทยา เจยาคม ชื่อเล่น บี เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2540 ส่วนสูง 158 น้ำหนัก 34 ที่อยู่บ้านเลขที่ 26/5 หมู่ 6 ตำบล เขาพระทอง อำเภอ ชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช สัตว์ที่ชอบ หมา สีที่ชอบ ฟ้า 

     2.นางสาว สุภาพร รักเอียด ชื่อเล่น ยีนส์ เกิดวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2541 ส่วนสูง 165 น้ำหนัก 55 ที่อยู่บ้านเลขที่ 88 หมู่ 5 ตำบล เคร็ง อำเภอ ชะอวด จังหวัด นครศรีธรรมราช สัตว์ที่ชอบ หมา สีที่ชอบ ส้ม

กูเป็นแค่ ผู้หญิงล้นล้า