วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

กว่าจะเป็นเมล็ดข้าว


"ข้าว" เป็นอาหารหลักที่คนไทยบริโภคประจำวันและยังเป็นอาหารหลักของมนุษย์โลกมาหลายพันปี พบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียง ประเทศไทย เมื่อไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว

ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 3,000 - 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชได้แก่ รอยแกลบ ข้าวซึ่งเป็นสว่นผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ก่อนหน้านั้น ต้นข้าวยังเป็นเพียงข้าวป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ตระกูลเดียวกับหญ้า ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้นและรากคล้ายต้นหญ้า จะต่างจากหญ้าตรงที่สามารถนำเมล็ดข้าวมากินเป็นอาหารได้ จากสถานะของข้าวป่า ต่อมาได้กลายมาเป็นข้าวปลูกที่ตั้งใจปลูกเพื่อการบริโภคกันจนทุกวันนี้

การปลูกข้าว เริ่มต้นจากกระบวนการเตรียมดิน การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยวและการเปลี่ยนข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร การเตรียมดิน และการปลูกแตกต่างกันออกไป สำหรับการปลูกข้าวแต่และประเภท ข้าวไร่ มักปลูกบริเวณไหล่เขา พื้นที่ระหวางหุบเขาหรือระหว่างต้นยางที่ปลูกใหม่ เตรียมดินโดยกำจัดวัชพืชออกและโปรยเมล็ดพันธุ์ลงในหลุมที่เตรียมไว้แล้วกลบหลุม ข้าวนาหว่านปลูกโดยหว่าเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่งอกลงไปในพื้นที่เตรียมไว้แล้ว ข้าวนาหว่านแบ่งออกเป็นการหว่านแบบสำรวยและการหว่านแบบน้ำตม การหว่านแบบสำรวยเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่งอกลงแปลงนา ส่วนการหว่านแบบน้ำตมเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์ที่งอกแล้วลงในนาที่มีน้ำขังลึกประมาณ 2 เซนติเมตร ส่วนข้าวนาดำปลูกโดยการเพาะต้นกล้าก่อนแล้วจึงถอนต้นกล้ามาปักดำนาอีกครั้ง สำหรับข้าวนาปลูก ปลูกโดยใส่เมล็ดพันธุ์ข้าวในหลุมเมื่อโตจะถอนออกไปทำกล้า และทิ้งไว้ในหลุมจำนวน 2-3 ต้น แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอก
ที่มา : วารสารiscience in action ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม 2550 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น